การปรุงอาหาร

ลดการปรุงอาหาร ดีอย่างไรต่อสุขภาพ

ของอร่อยที่รสชาติดีแบบไม่ต้องปรุงรส เป็นอะไรที่เพอร์เฟคและหลายๆ ท่านปราถนาที่จะได้ลิ้มลอง แต่หากรสชาติเหล่านั้นม่ถูกปากแล้วหล่ะก็…สุดท้ายก็จะต้องอาศัย “การปรุงรส” เพื่อช่วยให้สามารถกินได้อย่างอร่อยในภายหลัง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลก แต่วันนี้เรามีข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพที่ว่ากันด้วยเรื่องของ “ลดการปรุงอาหาร ดีอย่างไรต่อสุขภาพ” มาฝากทุกๆ ท่านให้ได้ลองศึกษาไว้เป็นความรู้กันครับ

ลดการปรุงอาหาร ดีอย่างไร?

การลดการปรุงอาหารสามารถมองได้ 2 ลักษณะนั้นก็คือ การปรุงเพื่อประกอบอาหารชนิดนั้นๆ ออกมาเพื่อให้สุกและมีรสชาติที่เหมาะสม อีกลักษณะนั้นก็คือ การปรุงเพิ่มเติมหลังจากอาหารได้ทำสำเร็จแล้ว ปรุงเพื่อความอร่อยในการรับประทาน ซึ่งหากเราสามารถลดการปรุงในแบบหลังได้จะทำให้เราลดการรับสารอาหารที่มีความเค็มจัดหรือหวานจัดที่จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้นั้นเอง

การปรุงเพื่อเพิ่มความเค็มส่งผลเสียอย่างไร?

การกินเค็มจะทำให้เราเสี่ยงมีโรคและความผิดปกติหลายอย่าง ซึ่งจากการสำรวจประชากรไทยนั้นประสบกับภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงหลายโรคกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรในวัยผู้ใหญ่ พบผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังและโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากการกินเค็มมากมายเลยก็ว่าได้

●โรคไต การได้รับโซเดียมปริมาณมากอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นจากการกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไต

●โรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มความดันโลหิตของโซเดียมอาจส่งผลให้หลอดเลือดและหัวใจนั้นทำงานหนักมากยิ่งขึ้น จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้

การปรุงเพื่อเพิ่มความหวานส่งผลเสียอย่างไร?

การปรุงเพื่อเพิ่มความหวานทุกๆ ครั้งนั้น จะทำให้ร่างกายเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่างๆ ได้ในภายหลัง ไม่ว่าจะเป็น

–          โรคเบาหวาน คือ ภาวะต้านอินซูลินที่รุนแรง จะทำให้ตับอ่อนไม่สามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลงได้ ระดับน้ำตาลในเลือดที่พุ่งสูงขึ้น หรือสวิงขึ้นลง จะทำให้คุณเป็นโรคเบาหวานได้ในที่สุด

–          โรคหัวใจ เกิดจากอาหารที่มีน้ำตาลสูง เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพราะน้ำตาลมีผลต่อกระบวนการสูบฉีดของหัวใจ เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์ ไขมันเลว กลูโคส และอินซูลินในกระแสเลือด

–          ไขมันพอกตับ เมื่อตับสังเคราะห์ฟรักโทสให้กลายเป็นไขมันแล้ว ก็จะนำไปเก็บไว้ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับและไขมันในเลือดสูงเมื่อกินอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลมากๆ จะทำให้เกิดการสะสมไตรกลีเซอไรด์ขึ้นในร่างกาย ทำให้ปริมาณไขมันในเลือดสูงขึ้น

–          โรคอ้วน เพราะความหวานจะทำให้รู้สึกหิวมากขึ้น และไม่รู้สึกอิ่ม คุณจะรู้สึกว่า กินเท่าไรก็ไม่พอเสียที และมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้อย่างง่ายดายโดยไม่รู้ตัว

3 วิธีการปรุงอาหารโดยไม่เสียคุณค่าทางโภชนาการ

●ปรุงสุกโดยการผัด อาหารที่ผ่านการผัดจะเสียคุณค่าทางโภชนาการไปบ้าง เพราะต้องทำให้สุกโดยผ่านความร้อน คุณพ่อคุณแม่ควรหั่นเนื้อสัตว์และผักเป็นชิ้นเล็กๆ พอดีคำ และใช้เวลาในการผัดไม่นานเกินไป โดยอาจใช้ฝาปิดเพื่อให้อาหารสุกเร็วขึ้นและไม่เสียคุณค่าทางอาหารมาก ควรเลือกใช้น้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว อย่าง น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันคาโนลา ที่จะช่วยเพิ่มไขมันดีให้กับร่างกาย

●นึ่งให้สุก การนึ่งเป็นการปรุงอาหารให้สุกโดยใช้ความร้อนจากไอน้ำ ซึ่งช่วยสงวนคุณค่าทางโภชนาการได้ดีกว่าการต้ม แต่ก็ไม่ควรนึ่งนานเกินไป เพราะยิ่งนานก็ยิ่งเสียคุณค่าไปมากเท่านั้น โดยเนื้อสัตว์หรือผักที่นำไปนึ่งจะมีเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่ม ย่อยง่าย ปรุงรสนิดหน่อยก็อร่อยแล้วค่ะ

●อบ ปิ้ง ย่าง เพราะการอบ ปิ้ง และย่างเป็นการรักษาคุณค่าทางอาหารไว้ได้เป็นอย่างดี และยังเพิ่มกลิ่นหอมชวนอร่อยให้อาหารได้อีกด้วย เคล็ดลับการปรุงอาหารด้วยวิธีนี้ คือ อย่าใช้เวลานานเกินไปจนเนื้อสัตว์แห้งแข็ง

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ลดการปรุงอาหาร ดีอย่างไรต่อสุขภาพ” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าจะช่วยให้ทุกท่านป้องกันแลระมัดระวังในการกินกันมากขึ้นนะครับ

Posts created 59

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top