การอดหลับอดนอน

ผลเสียของการอดหลับอดนอนที่ควรรู้

เคยเป็นกันบ้างมั้ยครับ อดหลับอดนอนเพื่อที่จะลุยงาน อ่านหนังสือสอบโต้รุ่ง หรือจะเที่ยวเล่นจนไม่ได้หลับไม่ได้นอน แต่พอหลังจบกิจกรรมพวกนั้นแล้ว ได้ล้มตัวลงนอนแต่ก็ยังรู้สึกไม่พออยู่ดี วันนี้เราเลยอยากพาทุกๆ ท่านไปศึกษาเกี่ยวกับ “ผลเสียของการอดหลับอดนอนที่ควรรู้” ที่น่าสนใจและหาทางแก้ไขกันครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันเลยดีกว่าครับ

6 ผลเสียของการอดหลับอดนอน

  • ระบบหัวใจและหลอดเลือด การอดนอนทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น หัวใจวาย หัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงอยู่แล้ว เช่น ผู้ที่มีไขมันในเลือดสูง
  • ระบบต่อมไร้ท่อ ขณะนอนหลับร่างกายจะผลิตหรือหลั่งฮอร์โมนออกมาหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ผู้ที่อดนอนหรือนอนไม่พอ ร่างกายจะหลั่ง growth hormone ออกมาได้น้อย ซึ่งฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยในการเจริญเติบโตและเพิ่มความสูงโดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น และยังช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ ซ่อมแซมเซลล์และเนื้อเยื่อ และทำให้กระดูกแข็งแรงเมื่อมีอายุมากขึ้น
  • ฮอร์โมนเพศชาย testosterone จะถูกผลิตขึ้นขณะหลับในระยะหลับฝัน (rapid eye movement หรือ REM sleep) ผู้ที่อดนอนเป็นประจำจะมีระดับฮอร์โมนชนิดนี้ลดลง ส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศ ผู้ที่ประสบภาวะมีบุตรยากทั้งชายและหญิง อาจมีสาเหตุมาจากการอดนอน
  • ระบบภูมิคุ้มกัน ในขณะนอนหลับ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะผลิตเซลล์ cytokines และ antibody เพื่อต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียและไวรัส และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย เซลล์ cytokines เองยังช่วยในการนอนหลับ การอดนอนจึงอาจทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย ในบางกรณีอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตจากการอดนอน ดังที่เคยปรากฎเป็นข่าวมาแล้ว
  • ระบบทางเดินหายใจ การอดนอนทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ การอดนอนยังทำให้โรคทางเดินหายใจที่เป็นอยู่ เช่น โรคปอดเรื้อรัง มีอาการเลวลง
  • ระบบควบคุมความอยากอาหาร ฮอร์โมน ghrelin และ leptin เป็นฮอร์โมนซึ่งควบคุมความรู้สึกหิวและอิ่ม ghrelin กระตุ้นให้เกิดความหิวและอยากอาหาร โดยเฉพาะหิวอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ในขณะที่ leptin ลดความอยากอาหารและเพิ่มการใช้พลังงานของร่างกาย การอดนอนทำให้ระดับ ghrelin เพิ่มขึ้น และระดับ leptin ลดลง ทำให้เกิดความหิวและอยากอาหาร จึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน การอดนอนยังทำให้ร่างกายเหนื่อยล้าเกินกว่าที่จะออกกำลังกาย เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น

แล้วถ้าเรานอนชดเลยเวลาที่ขาดไปมันช่วยได้จริงๆ หรือ?

ถึงแม้จะทำให้เรารู้สึกดีหลังจากได้นอนชดเชย แต่ในระยะยาวนั้น…ผลการศึกษามากมาย ยืนยันว่าการนอนไม่พอระหว่างสัปดาห์ และหันมานอนชดเชยในช่วงวันหยุดแทนนั้น ไม่เป็นประโยชน์อะไรเพราะนอกจากจะไม่ช่วยแก้ปัญหาการพักผ่อนไม่พอแล้ว ยังจะเพิ่มความเสี่ยงเรื่องความอ้วน โรคเบาหวาน รวมทั้งความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและอื่นๆ ได้ด้วย

แสงมีผลต่อการนอนของเราไหม?

โดยปกติร่างกายจะสร้างและสะสมพลังงานเอาไว้ โดยอาศัยสิ่งกระตุ้นจากปัจจัยแวดล้อมภายนอก เช่น แสง อุณหภูมิ เมื่อเราอยู่ในสถานที่ที่มีแสงสว่างน้อยหรือไม่มีแสงเลย ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) ที่ทำให้เรารู้สึกง่วงนอน แต่ในทางตรงข้าม เมื่อเราอยู่ในบริเวณที่มีแสง ทั้งจากหลอดไฟ หน้าจอคอม รวมถึงโทรศัพท์มือถือ จะส่งผลกระทบต่อดวงตาของเราโดยตรง

และนี้ก็คือข้อมูลเกี่ยวกับ “ผลเสียของการอดหลับอดนอนที่ควรรู้” ที่เราได้รวบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้กันครับ คิดว่าเป็นประโยชน์มากพอควรเลยหล่ะ

Posts created 59

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top