การนอนเป็นเวลา

กินดี แต่นอนไม่พอส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ

กินดีและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแค่ไหน ก็ไม่สู้ “พักผ่อนอย่างเพียงพอ” อย่างแน่นอนครับ เพราะการพักผ่อนหรือการนอนหลับของร่างกาย ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์เราเอามากๆ เลยหล่ะครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปค้นคว้าคร่าวๆ เกี่ยวกับเรื่องของ “การนอนหลับพักผ่อน” กันสักหน่อยครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลาเราไปชมกันดีกว่าครับ

การนอนหลับสำคัญอย่างไร?

การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญของสิ่งที่มีชีวิตไม่น้อยไปกว่าการได้รับประทานอาหารที่ดี และการได้สูดอากาศที่บริสุทธิ์ สังเกตได้ว่ามนุษย์เราใช้เวลาถึง 1 ใน 3 ของชีวิตไปกับการนอนหลับ การนอนหลับนั้นเป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบหัวใจและหลอดเลือดได้พักผ่อน เพราะร่างกายเรานอนนิ่ง ไม่ได้ออกแรงใด ๆ จึงไม่ต้องการการสูบฉีดโลหิตมากเท่าไรนัก นอกจากนี้ ในขณะที่มนุษย์นอนหลับนั้นจะมีการซ่อมแซมส่วนสึกหรอของร่างกายอีกด้วยหล่ะครับ

คนเราจะต้องนอนกี่ชั่วโมงถึงจะเพียงพอ

หลายๆคนคงคิดว่าคนเราต้องนอนให้ได้ 8 ชั่วโมงถึงจะเพียงพอ แต่จริงๆแล้วตัวเลข 8 ชั่วโมง เป็นแค่ค่าเฉลี่ยเท่านั้น การนอนให้เพียงพอคือการนอนจนรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาเอง และสามารถอยู่ได้จนไม่เพลียตลอดทั้งวัน ค่าเฉลี่ยการนอนแตกต่างกันไปตามช่วงอายุอีกด้วย ในเด็กเล็กที่แรกเกิด วงจรการนอนจะนอนเป็นช่วง ๆ รวม ๆ แล้ว 16-18 ชม. ต่อวัน การนอนจะนอนเป็นช่วง ๆ จะคงอยู่จนถึงอายุ 5-7 ขวบ ดังนั้นในรร. อนุบาลเลยมีการนอนกลางวันของเด็ก ๆ 5-7 ขวบ 9-12 ชม. และอยู่ได้โดยที่ไม่ต้องการนอนกลางวันแล้ว ซึ่งหากมากกว่า 60 ปี มักจะน้อยกว่า 7 ชม. และเริ่มมีวงจรการงีบหลับเป็นช่วง ๆ เนื่องจากสมองที่ควบคุมการหลับจะทำงานแย่ลง หลับยาก ตื่นบ่อยและหลับได้ในระยะเวลาสั้น ๆ

ข้อดีของการนอนเป็นเวลา

ช่วยให้ความจำดีขึ้น มีการศึกษาจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA) ระบุว่า คนที่นอนหลับได้แค่ราว 4 ชั่วโมงต่อคืน ติดต่อกันนาน ๆ มีผลต่อความจำ สมาธิ และอุบัติเหตุมากขึ้น นั่นก็เพราะเวลาเรานอน สมองจะมีกลไกช่วยจัดระเบียบคล้ายกับการแยกอีเมลขยะออกไป แต่ถ้าเราอดนอน เราจะรู้สึกมึน ลืมง่าย หรือไม่ก็ลิ้นพันกัน คิดอย่างพูดอย่าง ดังนั้นต้องนอนให้เต็มอิ่มจะได้เป็นการชาร์จแบตให้สมอง พร้อมรับความจำใหม่ ๆ 

ช่วยในเรื่องของการคุมความดันโลหิต เพราะการนอนหลับเร็วจะช่วยให้ระบบประสาทอัตโนมัติทั้งหลายและกลไกทางชีววิทยาที่เป็นเหมือนฟันเฟืองขนาดจิ๋วทำงานซับซ้อน ช่วยควบคุมหัวใจและความดันโลหิตให้สงบลง ไม่แกว่งขึ้น-ลงง่ายเหมือนกับตอนตื่นนอน

ทำให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนสึกหรอ คนก็เหมือนเครื่องยนต์ ทำงานมาหนักก็ต้องหยุดพักบ้างจริงไหม ซึ่งการนอนก็เหมือนเข้าอู่ซ่อมรถ ช่วยซ่อมแซมร่างกายที่สึกหรอ ช่วยให้สมองได้พักผ่อน กล้ามเนื้อคลายตัว หัวใจสงบขึ้น ความดันลดลง

ช่วยลดความเสี่ยงโรคอ้วน เพราะถ้าเรานอนเร็วจะทำให้เราไม่หิวกลางดึก นอกจากนั้นยังมีกลไกดับหิวด้วยการสร้างเคมีดับหิวขึ้นมา ทำให้การนอนเร็วช่วยคุมน้ำหนักตัวได้ดีกว่า อีกทั้งยังกระตุ้นเตาเผาในร่างกายให้ทำงานได้ดี ช่วยให้ไม่อ้วนง่าย ไม่สร้างเคมีเก็บไขมันมากด้วย

ลดความเสี่ยงในการเกิดโรค คนเราที่ไม่ยอมพักผ่อน ไม่ยอมหลับยอมนอน ความเหนื่อยล้าอ่อนเพลียก็อาจทำให้โรคที่พกอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ พากันแผลงฤทธิ์ขึ้นได้ โดยเฉพาะโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันสูง เบาหวาน ภูมิแพ้ โรคเครียด ซึมเศร้า และโรคมะเร็ง เป็นต้น

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับ  “กินดี แต่นอนไม่พอส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ” ที่จริงๆ แล้วคือเรื่องของการนอนพักผ่อนให้เพียงพอที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความนี้ คิดว่าน่าจะช่วยให้ทุกๆ ท่านวางแผนการพักผ่อนได้ดียิ่งขึ้นกันนะครับ

Posts created 59

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top