กินเค็มเสี่ยงโรค

อะไรที่มัน “มากเกินไป” ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควรและส่งผลเสียให้กับเราในสุดอยู่เสมอ เพราะความสมดุลคือทางออกของทุกๆ สิ่งเลยก็ว่าได้ครับ ซึ่งรวมไปถึงเรื่องของรสชาติอาหารและสารอาหารที่เราจะได้รับเข้าไปในการรับประทานอาหารแต่ละชนิด นั้นก็มีผลต่อร่างกายของเราโดยตรงเลยหล่ะครับ วันนี้ราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “กินเค็มเสี่ยงโรค” ที่ท่านควรรู้กันสักหน่อยครับ กินเค็มเสี่ยงโรคอย่างไร? การกินเค็มจะทำให้เราเสี่ยงมีโรคและความผิดปกติหลายอย่าง ซึ่งจากการสำรวจประชากรไทยนั้นประสบกับภาวะความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นสาเหตุของโรคร้ายแรงหลายโรคกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนประชากรในวัยผู้ใหญ่ พบผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังและโรคอื่น ๆ ที่อาจเกิดจากการกินเค็มมากมายเลยก็ว่าได้ ●โรคไต การได้รับโซเดียมปริมาณมากอย่างต่อเนื่องอาจส่งผลให้ไตทำงานหนักขึ้นจากการกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคไต ●โรคหลอดเลือดหัวใจ ด้วยคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มความดันโลหิตของโซเดียมอาจส่งผลให้หลอดเลือดและหัวใจนั้นทำงานหนักมากยิ่งขึ้น จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หรือภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ●โรคกระดูกพรุน โซเดียมที่มากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายนั้นขับแคลเซียมที่จำเป็นต่อการสร้างและคงความแข็งแรงของกระดูกออกไปทางปัสสาวะมากยิ่งขึ้น จึงอาจทำให้กระดูกบาง เสี่ยงต่อภาวะเปราะหักง่ายขึ้น รวมถึงอาจเป็นสาเหตุของโรคกระดูกพรุน กินเค็มอย่างพอดีส่งผลดีต่อร่างกาย อย่างที่ได้กล่าวไปว่าโซเดียมนั้นเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เนื่องจากโซเดียมเป็นเกลือแร่ ช่วยในกระบวนการที่สำคัญของร่างกาย มีคุณสมบัติในการกักเก็บน้ำรอบ ๆ เซลล์และเนื้อเยื่อภายในร่างกาย บางกรณีจะพบว่าแพทย์ใช้โซเดียมรักษาผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตต่ำ เนื่องจากมีส่วนช่วยให้เพิ่มระดับความดันโลหิต ดังนั้น การกินเค็มและการบริโภคโซเดียมอย่างเหมาะสมจึงจะดีที่สุดนั้นเองครับ 4 วิธีการลดเค็ม ●หยุดปรุงรสชาติอาหาร อาหารส่วนใหญ่ที่ปรุงมานั้นมีรสชาติความเค็มอยู่แล้ว หรือมีโซเดียมสูงอยู่แล้ว แต่พอไม่ชิมแล้วปรุงเพิ่มไปอีก ก็ยิ่งทำให้ได้รับโซเดียมเพิ่มมากขึ้น ●งดการกินอาหารแปรรูป อาหารแปรรูปนั้นมีโซเดียมในตัวอยู่แล้ว […]

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top