ตู้ MDB

ตู้ MDB

ตู้สวิทช์ประธาน (Main Distribution Board) เป็นแผงจ่ายไฟฟ้าขนาดใหญ่ โดยเป็นแผงแรกที่รับไฟจากการไฟฟ้าหรือด้านแรงต่ำ ของ หม้อแปลงจําหน่าย แล้วจ่ายกำลังไฟฟ้าไปยังแผงย่อยตามส่วนต่าง ๆ ของอาคาร นิยมใช้ในอาคารขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้ไฟฟ้าจํานวนมาก ซึ่งที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายจะเรียกว่า ตู้ MDB หรือ สวิทช์บอร์ด และในบางประเทศก็จะเรียก Main Switchboard ในบทความนี้เราจะมาอธิบายถึง 4 วัตถุประสงค์ของตู้ MDB รวมถึงอุปกรณ์หลัก ที่ใช้เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์เหล่านั้น

4 วัตถุประสงค์ของตู้ MDB

1. แจกจ่ายกำลังไฟฟ้า หน้าที่แรกของตู้ MDB คือ การรับไฟจากการไฟฟ้าเข้ามาในอาคารโดยผ่านสวิทช์ขนาดใหญ่หรือบางครั้งจะอีกชื่อหนึ่งว่า สวิตซ์เกียร์ ซึ่งปกติแล้วจะเป็นไฟฟ้าแรงดันต่ำที่มีขนาดแรงดันไฟฟ้า 400-416VAC, 50Hz 3 เฟส 4 สาย และเป็นความแตกต่างหลักอย่างหนึ่งระหว่างอาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรมที่จะใช้ไฟฟ้า 3 เฟสแทนการใช้ไฟฟ้า 1 เฟส แรงไฟฟ้า 230/240VAC 50Hz ทั้งนี้เซอร์กิตเบรกเกอร์หรือสวิทช์แยกวงจร เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการตัด-ต่อไฟฟ้าที่เข้ามาในอาคาร

2. ป้องกันระบบไฟฟ้า หากในกรณีที่ระบบการแจกจ่ายกำลังไฟฟ้ามีปัญหา ไม่มีระบบการป้องกันอาจจะทำให้อุปกรณ์เสียหายได้และถ้ามันรุ่นแรงมากพออาจทำให้อุปกรณ์ระเบิด ทั้งนี้ยังก่อให้เกิดอันตรายกับช่างที่อยู่ในบริเวณนั้นอีกด้วย ซึ่งความผิดปกติของระบบไฟฟ้าที่อาจจะเกิดขึ้นมีดังนี้ ไฟฟ้าลัดวงจร โหลดเกินหรือกระแสไฟฟ้าเกิน แรงดันไฟฟ้าเกิน แรงดันไฟฟ้าตก แรงดันไฟฟ้าหายบางเฟส แรงดันไฟฟ้าสลับเฟส ป้องกันเมื่อมีกระแสรั่วลงดิน ป้องกันฟ้าผ่า

3. แสดงสถานะการทำงาน เพาว์เวอร์ มิเตอร์ ที่ใช้ในการแสดงค่าพารามิเตอร์และปริมาณพลังงานไฟฟ้า เช่น แรงดัน, กระแส, ความถี่, กำลังงานไฟฟ้าจริง, กำลังงานไฟฟ้ารีแอคทีฟ และ Harmonic เป็นต้น เพื่อใช้ในการวัดคุณภาพของการใช้พลังงานเช่นเดียวกับการวัดการบันทึกปริมาณพลังงานที่ถูกใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ทั้งนี้เพาว์เวอร์มิเตอร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ได้แก้ Analog Power Meter และ Digital Power Meter

4. ระบบไฟฟ้าสำรอง ระบบไฟฟ้าสำรองนั้นมีหลายรูปแบบและหลายระดับการใช้งาน ตั้งแต่การสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และการเปลี่ยนแหล่งจ่ายไฟไปเป็น Uninterrupted Power Supply หรือ UPS แบบอัตโนมัติ เพื่อรองรับหรือซัพพอร์ตวงจรที่จำเป็น ในขณะเดียวกันตู้คอนโทรลเลอร์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator Controller) สั่งสตาร์ทเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ เมื่อกำลังไฟฟ้าพร้อมที่จะจ่ายหรือพร้อมที่จะทำงาน ก็จะสั่งงาน ATS (Automatic Transfer Switch) ในการทำงานแบบอัตโนมัติ เพื่อมาใช้กับไฟฟ้าสำรองจาก generator แทนการใช้งาน USP ทั้งนี้จะกลับไปใช้แหล่งจ่ายไฟฟ้าหลักเมื่อแหล่งจ่ายไฟหลักกลับสู่สภาพปกติแล้ว

Posts created 59

Related Posts

Begin typing your search term above and press enter to search. Press ESC to cancel.

Back To Top